เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 9. สมาทานเหตุกถา (103)
สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลเจริญได้เหมือนเถาวัลย์ เหมือนเถาย่านทราย เหมือนต้นไม้ เหมือน
ต้นหญ้า เหมือนหญ้าปล้องใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[599] สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อบุคคลสมาทานศีลแล้ว ตรึกถึงกามวิตก ตรึกถึงพยาบาทวิตก
ตรึกถึงวิหิงสาวิตกอยู่ ศีลเจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ1 เป็นฝ่ายขาว2 และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ3 มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ฝ่ายดำ หมายถึงสังกิเลสธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง) (ที.ปา.ฏีกา 144/78)
2 ฝ่ายขาว หมายถึงโวทานธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้ผ่องแผ้ว) (ที.ปา.ฏีกา 144/78)
3 มีส่วนเปรียบ หมายถึงสังกิเลสธรรมเป็นข้าศึกกับโวทานธรรมตามลำดับ โดยการแสดงการเปรียบเทียบว่า
สังกิเลสธรรมเป็นธรรมที่ควรละ ส่วนโวทานธรรมเป็นธรรมที่ละ (ที.ปา.ฏีกา 144/78)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :653 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 9. สมาทานเหตุกถา (103)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน 4 อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน 4 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ 1
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่าย
มีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
[600] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ชนเหล่าใดปลูกสวนอันน่ารื่นรมย์
ปลูกป่า ฯลฯ ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลแล้วย่อมไปสู่สวรรค์”2
มีอยู่จริง มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ จึงเจริญได้
สมาทานเหตุกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/47/77
2 ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) 15/47/56

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :654 }